โรคอ้วนในเด็ก อย่ามองเป็นเรื่องเล็ก

โรคอ้วนในเด็ก อย่ามองเป็นเรื่องเล็ก

เด็ก

ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมการเลี้ยงดู และสภาพสังคมที่เร่งรีบ อาจส่งผลกระทบถึงพฤติกรรมการกินที่ไม่ค่อยเฮลธ์ตี้ซักเท่าไหร่

จากที่เคยทำกับข้าวกินเอง ซึ่งควบคุมและเลือกสรรได้ดีกว่า ก็เปลี่ยนไปกินอาหารนอกบ้านประเภทฟาสต์ฟู้ด อาหารตามสั่ง รวมถึงเครื่องดื่มชงหวานกันมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กยุคใหม่ต้องเผชิญกับปัญหา ‘โรคอ้วน’ แล้วเราจะรับมือหรือแก้ปัญหา ‘เด็กอ้วน’ ได้อย่างไร? นพ.สุรพงษ์ ลีโทชวลิต กุมารแพทย์ ประจำศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

โรคอ้วนในเด็กษกำลังกลายเป็นปัญหาระดับโลก

ถ้าในประเทศไทยมีงานวิจัยพบว่า อัตราภาวะเด็กอ้วนในไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2540 พบว่า มีจำนวนเด็กอ้วนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่า และในปี 2552 พบว่า

  • เด็กในช่วงอายุ 1-5 ขวบ มีเด็กอ้วนถึงร้อยละ 8.5
  • เด็กในช่วงอายุ 6-11 ปี มีเด็กอ้วนร้อยละ 8.7 และ
  • เด็กในช่วงอายุ 11-14 ปี มีเด็กอ้วนร้อยละ 11.9

ซึ่งจากตัวเลขนี้ จะเห็นว่า เมื่อเด็กยิ่งโตขึ้น อัตราเสี่ยงที่เด็กจะกลายเป็นเด็กอ้วนก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น จึงนับว่าเป็นสัญญาณอันตรายที่เราไม่ควรมองข้าม นี่ยังไม่รวมถึงสถิติล่าสุดที่บอกว่าในปัจจุบันมีเด็กอายุ 8-15 ปี เข้าข่ายเป็นโรคอ้วนมากถึง 340 ล้านคนทั่วโลก และเด็กไทยติดอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียนเลยทีเดียว

อัพเดทเด็ก มาใหม่ แนะนำเพิ่มเติม :  คุณพ่อ คุณแม่ต้องรู้ การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก สำคัญแค่ไหน

คุณพ่อ คุณแม่ต้องรู้ การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก สำคัญแค่ไหน

คุณพ่อ คุณแม่ต้องรู้ การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก สำคัญแค่ไหน

การเคลือบฟลูออไรด์สำหรับเด็กมีความสำคัญมาก คุณพ่อ-คุณแม่ต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพฟันของลูกน้อยเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้ลูกน้อยรับประทานอาหารได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะมีอาการฟันผุตามมา เชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่หลายท่าน อาจมีความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพฟันลูกน้อย เพราะเด็กช่วงวัยนี้จะชอบทานลูกอม ช็อกโกแลต หรือขนมขบเคี้ยวมาก อาจทำให้ลูกมีโอกาสฟันผุก่อนวัยได้

ในบทความนี้จึงพามารู้จักกับการเคลือบฟลูออไรด์ในเด็กกัน ซึ่งฟลูออไรด์เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน พบได้จากธรรมชาติ ในอาหารจำพวกปลา ไข่ และผักจากอาหารแต่ละมื้อ ถ้ากังวลว่าการทานอาหารในแต่ละวันยังไม่เพียงพอ เราขอแนะนำให้พาลูก ๆ เข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ที่คลินิกทันตกรรม เพื่อช่วยป้องกันปัญหาฟันผุก่อนวัยของลูก ๆ

เคลือบฟลูออไรด์เด็ก คืออะไร

การเคลือบฟลูออไรด์ เป็นการเคลือบสารฟลูออไรด์ไปที่ผิวฟัน ช่วยทำให้โครงสร้างของฟันแข็งแรง และทนทานต่อกรดของแบคทีเรียในช่องปากเพิ่มขึ้น ช่วยชะลอฟันผุระยะเริ่มแรก และลดโอกาสการเกิดรอยผุใหม่ ซึ่งธรรมชาติของเด็กวัยนี้จะชอบกินพวกขนม ลูกอมหวาน ๆ เป็นอย่างมาก มีโอกาสเกิดฟันผุขึ้นได้ ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ควรพาไปเคลือบฟลูออไรด์ที่คลินิกทันตกรรม เพื่อรักษาสุขภาพฟันของลูกให้แข็งแรง สิ่งที่จะได้หลังจากการเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก อย่างเช่น

  • เด็ก ๆ จะสามารถทานอาหารที่ตัวเองชอบได้อย่างเต็มที่ เพราะมีฟันที่แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงอาการฟันผุก่อนวัย หรือปัญหาสุขภาพเหงือกของเด็กที่อาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้
  • ลูกน้อยของคุณจะมีรอยยิ้มที่น่ารัก สดใส เพราะมีสุขภาพฟันที่ดี
  • สุขภาพฟันของลูกน้อยจะเต็มไปด้วยแคลเซียมและฟอสเฟตที่มีประโยชน์ในการยับยั้งแบคทีเรียในช่องปากอีกด้วย

เด็ก

ชนิดของการเคลือบฟลูออไรด์ มีอะไรบ้าง

ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะพาเด็ก ๆ ไปพบหมอฟัน เราอยากให้คุณทำความรู้จักกับชนิดของการเติมฟลูออไรด์ในเบื้องต้นกันก่อน สำหรับการรับฟลูออไรด์ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ตัวฟันนั้น จะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การรับฟลูออไรด์ชนิดแบบทาน และการรับฟลูออไรด์แบบเคลือบในเด็กปกติ เป็นการเคลือบเฉพาะที่ โดยที่ฟันจะสัมผัสกับฟลูออไรด์โดยตรง ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของทันตกรรมเด็ก มั่นใจได้เลยว่าปลอดภัย 100%

โดยปกติแล้วควรจะเคลือบฟลูออไรด์นทุกๆ 6 เดือน ยกเว้นในช่วงเวลาหรือกรณีที่ลูกน้อยมีความเสี่ยงต่ออาการฟันผุได้ง่าย คุณหมออาจจะนัดให้ทำการเคลือบฟันบ่อยมากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันอาการฟันผุก่อนวัยที่จะตามมา นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะเติมฟลูออไรด์ให้กับลูกน้อยที่บ้านได้ ผ่านการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป

ประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์เด็ก

มาถึงประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่การเติมฟลูออไรด์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน สามารถปกป้องอาการฟันผุและคราบบนฟันได้ ทำให้ฟันของคุณแข็งแรงขึ้น เพราะฟลูออไรด์ช่วยเร่งคืนแร่ธาตุที่เคลือบฟัน (ชั้นนอกสุดของฟัน) ซึ่งในแต่ละวันนั้น เคลือบฟันของเราจะมีการสูญเสียแร่ธาตุและสร้างกลับมาใหม่ในทุก ๆ วัน ถ้าชั้นเคลือบฟันซ่อมแซมกลับมาไม่ทัน ก็จะทำให้เกิดฟันผุขึ้นมา ดังนั้นการเคลือบฟลูออไรด์จึงเป็นตัวช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมคืนแร่ธาตุของฟันของกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม

สำหรับการเคลือบฟลูออไรด์ในด้านทันตกรรมเด็กหรือทำฟันเด็ก จะใช้เครื่องมือทันตกรรมที่ทันสมัย และต้องอาศัยทันตแพทย์เด็กหรือหมอฟันเด็กเฉพาะทางที่มีความชำนาญ เข้าใจธรรมชาติของเด็กเป็นอย่างดี เพื่อให้ใช้เวลาน้อยที่สุดในระหว่างการรักษา เพราะเด็ก ๆ จะอาการงอแง และกลัวการทำฟันแน่นอน นอกจากประโยชน์ของการเคลือบฟันที่ทําให้ฟันแข็งแรงห่างไกลจากฟันผุแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นช่วยลดอาการเสียวฟัน และทำให้ฟันมีสภาพที่ทนต่อกรดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ข้อแนะนำหลังเคลือบฟลูออไรด์จากคุณหมอ

หลังจากการเคลือบฟลูออไรด์ที่คลินิกทันตกรรมแล้ว คุณหมอฟันเด็กจะแนะนำให้ผู้ปกครองดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด โดยควรงดดื่มน้ำและทานอาหาร เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที หลังจากที่ทำการเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อให้สารฟลูออไรด์ที่ใช้เคลือบฟันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลังจากผ่านระยะเวลาที่แนะนำไว้ คุณก็สามารถพาลูกน้อยกลับไปทานอาหารได้อย่างปกติ

การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็กนั้น หากมีปริมาณมากเกินไปในระยะยาวจะทำให้ฟันของลูกน้อยตกกระ หรือเป็นคราบได้ แนะนำว่าให้ผู้ปกครองพาลูกน้อยไปตรวจสภาพฟันกับทันตแพทย์ เป็นประจำอย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน หากพบปัญหาฟันผุจะได้แก้ไขได้ทันที อย่าลืมว่าสุขภาพของช่องปากก็เป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตของลูกน้อย ให้เขามีรอยยิ้มที่สดใส และสุขภาพฟันที่แข็งแรง กินอาหารอย่างมีความสุขด้วยการเอาใจใส่ดูแลของคนที่รักเขามากที่สุด

ถ้าอยากให้ลูก ๆ มีสุขภาพฟันที่แข็งแรง ห่างไกลจากฟันผุ สามารถเข้ามารับบริการการเคลือบฟลูออไรด์เด็กกับ TDH Dental และดูค่าบริการเคลือบฟลูออไรด์ของคลินิกได้ ทางเรามีหมอฟันเด็กเฉพาะทางที่มีความชำนาญ คุณหมอใจดี มือเบา อีกทั้งบรรยากาศภายในคลินิกที่ปลอดโปร่ง กว้างขวาง และทีมงานที่พร้อมดูแลและบริการอย่างใส่ใจ

ติดตามข่าวสารต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>> ออทิสติกสเปกตรัม ความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการ

ออทิสติกสเปกตรัม ความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการ

ออทิสติกสเปกตรัม ความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการ

  • ภาวะออทิสติกสเปกตรัม ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด จึงยังไม่สามารถตรวจทราบได้ล่วงหน้า แต่มีหลักฐานสนับสนุนว่าเกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ และมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม อาการที่สังเกตได้ว่าเด็กเข้าข่ายออทิสติก หรือออทิสติกสเปกตรัม ได้แก่ เด็กที่ไม่พูดเลย พูดช้า พูดคำแปลกๆ พูดเป็นคำหรือภาษาที่ไม่เข้าใจ ไม่สามารถสื่อสาร หรือสนทนาตอบโต้ได้ พูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ ไม่ชวนคุย
  • ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาภาวะออทิสติกสเปกตรัม หรือโรคออทิซึมให้หายขาด แต่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ หากเด็กได้รับการดูแล ช่วยเหลือ รักษาอย่างรวดเร็ว และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อได้รับการวินิจฉัย

Autism Spectrum Disorder (ASD) หรือ ออทิสติกสเปกตรัม คืออะไร
ออทิสติกสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder) เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการ ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการที่ล่าช้า ในด้านการสื่อภาษา การปฏิสัมพันธ์ด้านสังคม รวมถึงเกิดพฤติกรรมและความสนใจ ที่เป็นแบบแผนซ้ำๆ หรือแบบแคบๆ มีขีดจำกัด ความบกพร่องทางการพูดและการสื่อสาร

สัญญาณและอาการออทิสติกสเปกตรัม

พบได้ตั้งแต่เด็กที่ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน พูดคำแปลกๆ พูดเป็นคำหรือภาษาที่ไม่เข้าใจ (Neologism) หรือเด็กบางคนพูดได้ แต่ไม่สามารถพูดโดยใช้ภาษาในการสื่อสาร หรือสนทนาได้ เรียกว่าเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว ดูได้จากการตอบไม่ตรงเรื่องที่สนทนา ชอบพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจมากกว่า ไม่โต้ตอบ ไม่สนทนา ไม่ชวนคุย โดยความบกพร่องทางภาษานี้จะมีทั้งรูปแบบภาษาพูดและภาษาท่าทาง

  • ปฏิสัมพันธ์ทางด้านสังคม ในเด็กกลุ่มนี้ บางรายไม่สบตา ไม่หันตามเวลาเรียกชื่อ ไม่โผให้อุ้มเวลาผู้ใหญ่เข้าหา ไม่กลัวคนแปลกหน้า ไม่ชี้นิ้ว ใช้วิธีดึงมือผู้อื่นไปทำ ชอบเล่นคนเดียวมากกว่าเล่นกับเด็กด้วยกัน ไม่มีความสนใจร่วม ไม่ชวนเล่น ไม่เล่นสมมติ ไม่สามารถเข้าใจความรู้สึก หรือมุมมองของคนอื่น ชอบอยู่ในโลกของตัวเอง
  • ด้านพฤติกรรมซ้ำซาก ที่พบได้ในภาวะออทิสติกสเปกตรัม สามารถสังเกตได้จากหลายอาการ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ เขย่งเท้า สะบัดมือ พูดตามโดยไม่เข้าใจความหมาย (echolalia) พูดวลีซ้ำ นอกจากนี้ยังทำกิจวัตรซ้ำๆ เปลี่ยนแปลงยาก เช่น กินอาหารซ้ำ การเดินทางด้วยเส้นทางเดิม มีความหมกมุ่นยึดติดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ เช่น สนใจเรื่องรถ ปลาวาฬ เป็นต้น

ข่าวเด็กวันนี้

อาการที่พบร่วมอีกอย่างหนึ่งคือ มีการตอบสนองประสาทสัมผัสมาก หรือน้อยผิดปกติ เช่น ตอบสนองผิดปกติต่อเสียง แสง ผิวสัมผัสบางอย่าง เด็กอาจเอามือปิดหู ไม่ชอบเสียงเครื่องจักร เครื่องตัดหญ้า บางรายหลับตา หรือบางรายจะให้ความสนใจต่อการเคลื่อนไหวบางอย่างมากผิดปกติ เช่น ชอบนั่งมองพัดลมหมุน

เนื่องจากกลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัมมีอาการแสดงที่หลากหลาย มีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงมาก ความแตกต่างกันทั้งด้าน IQ ตั้งแต่ระดับสูงถึงต่ำ ลักษณะเหมือนกับเฉดสีของรุ้งกินน้ำ จึงมีแนวคิดการวินิจฉัยแบบ spectrum

ความแตกต่างของ ออทิสติกสเปกตรัม กับ ออทิสติกแท้และเทียม

ออทิสติกแท้ คือ กลุ่มที่เป็นโรค มีปัญหาด้านพัฒนาการตามที่อธิบายข้างต้น เป็นกลุ่มของความผิดปกติของสมอง ส่งผลต่อพัฒนาการ กลุ่มนี้ได้รับการวินิจฉัยเข้าเกณฑ์ได้กับออทิสติกสเปกตรัม สำหรับ ออทิสติกเทียม ปัจจุบันจะพบเด็กที่มีอาการคล้ายออทิสติก แต่ไม่ได้เป็นโรคจริง เด็กกลุ่มนี้อาจมีสาเหตุจากการขาดการดูแลอย่างเหมาะสม ขาดการกระตุ้นพัฒนาการ ขาดการเรียนรู้ การเล่นที่เหมาะสม หรือยุคปัจจุบันที่เด็กจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป แยกตัว ไม่มีเพื่อนเล่น เพราะภาวะโรคระบาด จนทำให้ดูไม่ค่อยสนใจคนอื่น ทักษะทางสังคมไม่ค่อยดี เด็กกลุ่มนี้เมื่อได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม อาการที่สงสัยดูคล้ายภาวะออทิสติกจะหายไป

วิธีสังเกตอาการออทิสติกสเปกตรัม

ส่วนใหญ่จะเริ่มสังเกตว่าเด็กมีอาการผิดปกติหรือไม่ ได้จากการแสดงออกของเด็กอายุก่อน 3 ขวบ

โดยเริ่มจากการสังเกตในขวบปีแรก เด็กไม่ค่อยมองหน้า สบตา ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่มี social smile ไม่หันหาเสียง ไม่จ้องหน้าคนเลี้ยงดู พออายุ 1 ขวบปี ให้สังเกตพัฒนาการด้านภาษา โดยสังเกตจากที่ปกติเด็กจะเริ่มพูดคำพูดที่มีความหมายได้ ตัวอย่างที่น่าสงสัย หรือเข้าข่าย เช่น เด็กอายุ 1 ขวบ 6 เดือน แต่ยังพูดคำเดี่ยวๆ ไม่ได้ ยังไม่เล่นสมมติ

เมื่อเด็กเข้าสู่ช่วง 2-3 ขวบ เด็กออทิสติกจะพบประวัติว่าพูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน อาจดูได้จากประวัติว่าเด็กพูดได้เป็นคำๆ แล้วหยุดไป พูดคำที่มีความหมายไม่ได้ ส่วนด้านสังคมเด็กมักจะไม่สนใจเล่นกับคนอื่น ชอบเล่นกับตัวเองมากกว่า ไม่สนใจเวลาชี้ชวนให้ดู ยังเล่นของเล่นไม่ถูก ชอบเอาของมาเรียงๆ ไม่ค่อยกังวลเมื่อแยกจากแม่ ไม่กลัวคนแปลกหน้า สบตาน้อย หรือไม่สบตา เวลาเรียกชื่อไม่ตอบสนอง บางรายมีการเคลื่อนไหวซ้ำ เช่น เล่นมือ หมุนตัว ชอบมองของหมุนๆ ไวกับเสียง แสง สัมผัส (จึงทำให้มีการเขย่งเท้า)

สำหรับเด็กในวัยอนุบาล วัยเรียน จะสามารถสังเกตได้จากการเล่น ซึ่งสังเกตได้ตั้งแต่เด็กไม่สนใจ ไม่เข้าหาเพื่อน เล่นหรือเริ่มต้นที่จะเล่นไม่เป็น ทั้งที่มีความอยากเล่นกับเพื่อน ด้านการสื่อสารเด็กบางรายพูดได้มากขึ้น แต่ดูยังช้ากว่าวัยเดียวกัน พูดเรียบเรียงสลับ ไม่เป็นไปตามลำดับ และบางรายใช้สรรพนามผิด พูดสื่อสารทางเดียว ตอบไม่ตรงคำถาม สนทนาแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ

การรักษาภาวะออทิสติกสเปกตรัม

การรักษาเป็นการรักษาแบบองค์รวม โดยช่วงเวลาของการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ ช่วง 3 ขวบปีแรก โดยการรักษาในช่วงนี้มีเป้าหมายคือ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสารสังคมดีขึ้น ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ พยายามพัฒนาศักยภาพเด็กให้ได้มากที่สุด พร้อมไปกับการรักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ เช่น สมาธิสั้น สติปัญญาบกพร่อง หรืออารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการสื่อสารที่มีปัญหา

การรักษาภาวะออทิสติกสเปกตรัม ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นการให้ยาตามอาการ และเพื่อลดปัญหาพฤติกรรม อาการไม่พึงประสงค์ การตอบสนองต่อยาในเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน

การบำบัดรักษาเด็กกลุ่มออทิสติกสเปกตรัม

  • การฝึกพูด ฝึกเพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคำศัพท์ เปล่งเสียง การสร้างประโยค ฝึกการสื่อสารทางสังคม
  • กิจกรรมบำบัด Occupational therapy เป็นการฝึกโดยนักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้เด็กได้ฝึกและเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ
  • พฤติกรรมบำบัด Behavior Therapy เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างจิตแพทย์เด็ก แพทย์พัฒนาการ และนักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดปัญหาพฤติกรรม ร่วมกันเน้นการสร้างและเสริมพฤติกรรมที่ดี ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
  • Group Training and parent training เป็นการฝึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการ เน้นเรื่องทักษะสังคม พัฒนาด้านการช่วยเหลือตัวเอง มีกิจกรรมผ่านการเล่น สร้างสัมพันธภาพ โดยอาจใช้ศิลปะและดนตรีบำบัดเข้ามาร่วมด้วย โดยในส่วนของผู้ปกครองจะเน้นทักษะการแก้ปัญหา ช่วยส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการลูก รวมถึงดูแลจิตใจพ่อแม่ เสริมพลังพ่อแม่ และครอบครัวบำบัด
  • การช่วยเหลือทางด้านการศึกษา สร้างแบบเรียนร่วม หรือ special class กล่าวคือควรมีการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
  • การส่งเสริมพัฒนาการเดี่ยว Individual training
  • ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาออทิสติกสเปกตรัม หรือโรคออทิซึมให้หายขาดได้ แต่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ หากเด็กได้รับการดูแล ช่วยเหลือ รักษาอย่างรวดเร็ว และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อได้รับการวินิจฉัย

ดังนั้นถ้าสงสัยว่าลูกมีความผิดปกติต้องรีบพามาพบกุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และเด็กได้รับการบำบัดรักษาครบถ้วน เหมาะสม โดยทีมสหวิชาชีพ เพื่อเป้าหมายสำคัญในการรักษา อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างให้เกิดพัฒนาการและพฤติกรรมที่ใกล้เคียงเด็กปกติให้มากที่สุด โดยพ่อแม่จะเป็นผู้ร่วมบำบัดที่สำคัญ.