โรควูบ หรือล้มทั้งยืน อันตรายอาจถึงตาย

โรควูบ หรือล้มทั้งยืน วามผิดปกติขั้นรุนแรงของหัวใจ อันตรายอาจถึงตาย

โรควูบคือ อาการเป็นลมเกือบหมดสติ หรือบางรายหมดสติไป การเป็นลมหมดสติ มีตั้งแต่เป็นลมธรรมดา จนถึงเป็นลมเนื่องจากความผิดปกติขั้นรุนแรงของหัวใจ

อาการวูบหรือการเป็นลมหมดสติ เป็นอาการที่พบบ่อย เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียความรู้สึกตัวและแรงของกล้ามเนื้อชั่วคราว อันเป็นผลมาจากเลือดไปเลี้ยงก้านประสาทสมองลดลง ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือดทั่วร่างกาย อาการวูบนี้มักจะฟื้นกลับเป็นปกติได้เอง และอาจเป็นซ้ำได้อีก

จากการสำรวจในต่างประเทศพบว่าเกือบ 10% ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา และผู้ใหญ่กว่า 50% ต่างเคยมีอาการวูบมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง

ผู้ป่วยโรควูบหมดสติที่หาสาเหตุไม่ได้ มีอัตราเสียชีวิตในปีแรกที่เป็น สูงถึง 6% โดย 4% เสียชีวิตแบบเฉียบพลัน แต่หากมีสาเหตุจากโรคหัวใจ อัตราเสียชีวิตในปีแรกที่เป็นจะสูงถึง 18 – 33% โดยที่ 24% เป็นการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

สำหรับคนที่ปฏิบัติวิชาชีพ เช่น พนักงานขับรถ นักบิน กรรมกรก่อสร้าง หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ยิ่งมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตหลังจากอาการวูบได้สูงขึ้น

โรควูบแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการวูบจากภาวะโลหิตต่ำชั่วคราว แต่ไม่ใช่อาการโรคหัวใจ หรือเรียกง่ายๆ ว่า อาการเป็นลมทั่วไป เนื่องจากร่างกายทนกับสภาพแวดล้อมไม่ได้ โดยมีสาเหตุจากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ยืนหรือนั่งนานเกินไป ส่วนอีกกลุ่มคือ อาการวูบจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ การอุดตันของเส้นเลือด

ข่าวสุขภาพวันนี้

สาเหตุของการเป็นลมเกือบหมดสติหรือหมดสติ มีหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ภาวะตกใจหรือเสียใจรุนแรง
  • ไอหรือจามแรงมากเกินไป
  • ขณะยืนถ่ายปัสสาวะ หรือหลังถ่ายปัสสาวะ หลังจากที่กลั้นมานาน
  • ออกกำลังกายมากเกินไป
  • หลังอาหารมื้อหนัก
  • เส้นประสาทสมองที่ 5,9 อักเสบ
  • เป็นโรคสมองเสื่อมหรือสมองฝ่อ
  • โรคพาร์กินสัน บางรายที่มีระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติร่วมอยู่ด้วย
  • โรคเบาหวาน ในรายที่เส้นประสาทโดนทำลายจากเบาหวาน
  • จากยาบางชนิดเช่น รับประทานยาลดความดันมากเกินไป
  • ดื่มสุรามากเกินไป
  • จุดกำเนิดไฟฟ้าของหัวใจเสื่อมสภาพ
  • เสียเลือดมาก หรือเสียน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป เช่น ท้องร่วงรุนแรง อาเจียนรุนแรง
  • มีการกระตุ้นในระบบทางเดินอาหาร เช่น ล้วงคอ อาเจียน เบ่งถ่ายอุจจาระ ปวดท้องรุนแรง
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง
  • ระบบทางเดินไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพหรือผิดปกติ
  • สาเหตุจากการเสียสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจและหลอดเลือด
  • ภาวะเสียเลือดจากหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
  • เนื้องอกในห้องหัวใจ
  • ลิ้นหัวใจตีบรุนแรง
  • ภาวะที่มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจมาก และมีการกดการทำงานของหัวใจ
  • ภาวะเสียเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจแตก หรือมีการฉีกขาดรุนแรง
  • มีลิ่มเลือดใหญ่ไปอุดตันเส้นเลือดในปอด
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงมากเกินไป

วิธีปฏิบัติเมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ เมื่อเริ่มมีอาการ ให้หาที่พักเกาะยึดไว้ และซอยเท้า เพื่อให้เลือดกลับสู่หัวใจได้มากขึ้น ถ้ายังไม่บรรเทา ให้นั่งลง และถ้ายังไม่ดีขึ้นให้นอนราบเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น และจะสามารถป้องกันการเป็นลมได้ รวมทั้งยังลดการเกิดการบาดเจ็บหากล้มกระแทกพื้นหรือวัตถุอื่นๆ

ถ้าขับรถอยู่ ควรจอดทันที แล้วปรับที่นั่งให้อยู่ในท่านอนราบ ถ้าอยู่ในรถโดยสารควรหาที่นั่ง/นอนในรถ แล้วรีบแจ้งคนรอบข้างว่ากำลังจะเป็นลม ไม่ควรรีบลงจากรถ เพราะอาจหมดสติตรงทางลง ทำให้เกิดอันตรายได้

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว เลี่ยงรับประทานอาหารอย่างไร

รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว เลี่ยงรับประทานอาหารอย่างไร

รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว เลี่ยงรับประทานอาหารอย่างไร

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะการทำงานผิดปกติของหัวใจ ที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างพอเพียงต่อความต้องการ รวมถึงไม่สามารถรับเลือดเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ แม้ร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อน

รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือนผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย เค็มน้อย เพราะหากทานอาหารที่มีโซเดียมมาก เค็มมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำคั่ง น้ำท่วมปอด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้อาการที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้นและมีโอกาสเสียชีวิตได้

ควบคุมปริมาณโซเดียมในอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน
โซเดียม คือแร่ธาตุซึ่งมีหน้าที่หลักในการรักษาสมดุลของน้ำและอิเลคโตรไลท์ (Electrolyte) ในร่างกาย และควบคุมระดับความดันโลหิต โดยร่างกายของเราสามารถขับน้ำและแร่ธาตุ รวมถึงโซเดียมได้ 3 ทาง ได้แก่ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ โดยปริมาณโซเดียมสูงสุดที่ร่างกายควรได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตราย อยู่ที่ 2,400 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา ในหนึ่งวัน

โซเดียมอยู่ในอาหารประเภทไหนบ้าง
โซเดียม มักอยู่ในเกลือและสารให้ความเค็มต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ นอกจากนี้โซเดียมอาจจะอยู่ในอาหารที่ไม่มีรสชาติเค็มอีกด้วย เช่น เบเกอรี่เเละขนมอบ ที่มีส่วนประกอบ อาทิเช่น ผงฟู เป็นสารที่ทำให้ขนมปังขึ้นฟู โซเดียมอัลจิเนต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเจลให้ความข้นหนืด ผงกันบูด เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เป็นต้น

อันตรายจากการรับประทานอาหารรสเค็มจัดต่อเนื่อง
การรับประทานอาหารรสเค็มมากไป ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหลอดเลือดในสมองแตกหรืออัมพาตได้ ดังนั้น การจำกัดหรือควบคุมปริมาณโซเดียม สามารถช่วยควบคุมและป้องกันความดันโลหิตสูง รวมทั้งป้องกันการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว ลดภาวะบวมน้ำ ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไตได้

อาหารที่ควรลด/เลี่ยง เพื่อควบคุมโซเดียม
อาหารแปรรูปต่าง ๆ จำพวกอาหารกระป๋องทุกชนิด
อาหารหมักดอง ผัก/ผลไม้ดอง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ
เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า อาหารรสเค็มอื่น ๆ
เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง ที่มีผงฟูเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร
เครื่องดื่มเกลือแร่
เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และส่งผลดีต่อผู้ป่วย
อาหารที่ควรเลือกรับประทานและส่งผลดีต่อผู้ป่วย ได้แก่ อาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด หรือประกอบอาหารทานเอง ซึ่งทำให้เราสามารถควบคุมปริมาณเครื่องปรุงเองได้ อาหารที่มีปริมาณโปแตสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียวและผลไม้ และที่สำคัญควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

นอกเหนือจากการควบคุมโซเดียมในอาหารแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอต่อวัน ก็ยังเป็นวิธีพื้นฐานที่จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ รวมถึงการเข้าพบแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ เพื่อเป็นการดูแลตัวเองจากภาวะหัวใจล้มเหลวนั่นเอง