คนจีนแห่สมัครสมาชิกบัตรอีลิท เน้นเดินทางเชิงธุรกิจ-ซื้อคอนโด

แม้ว่ารัฐบาลจีนจะยังไม่เปิดประเทศให้ชาวจีนเดินทางออกท่องเที่ยวนอกประเทศ แต่ชาวจีนก็สมัครเป็นสมาชิกบัตรไทยแลนด์ อีลิท เติบโตเพิ่มขึ้นชัดเจน

ธุรกิจ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจ การ์ด จำกัด (ทีพีซี) ผู้ให้บริการบัตรสมาชิกพิเศษไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เปิดเผยว่า แม้ว่ารัฐบาลจีนจะยังไม่เปิดประเทศให้ชาวจีนเดินทางออกท่องเที่ยวนอกประเทศ แต่ชาวจีนก็สมัครเป็นสมาชิกบัตรไทยแลนด์ อีลิท เติบโตเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยปี 64 มีจำนวน 1,095 คน และปี 65 มีจำนวน 3,131 คน เติบโตขึ้น 185%

สังคม คนจีน

“เทรนด์การเดินทางเชิงธุรกิจของชาวจีนรวมถึงการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ได้ให้บริษัทเตรียมสินค้าที่รองรับในส่วนนี้อยู่แล้ว คือ โครงการอีลิท เฟล็กซิเบิล วัน ที่เป็นความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เน้นลูกค้าชาวจีนเป็นหลัก รวมทั้งเน้นการทำการตลาดออนไลน์ที่มุ่งเป้าไปที่ฮ่องกง ไต้หวัน และจีน ปัจจุบันมีสมาชิก 5 รายเข้าร่วมโครงการรวมมูลค่า เกือบ 100 ล้านบาท ทั้ง 5 รายเป็นชาวจีนที่ได้รับสัญชาติอื่น ซึ่งมาซื้อคอนโดมิเนียมในไทย”

สำหรับสมาชิกชาวจีนปัจจุบัน จำนวน 7,350 ราย คิดเป็น 35.19% ถ้ารวมฮ่องกงกับไต้หวันจะเป็น 8,201 ราย คิดเป็น 39% จากจำนวนสมาชิกทั้งหมดปัจจุบันที่มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 20,884 ราย ขณะที่ยอดจำหน่ายบัตรอีลิท การ์ด ตั้งแต่ ม.ค.-ต.ค.2565 รวมทั้งสิ้น 5,582 ราย เกินกว่าเป้าหมายที่เดิมตั้งไว้อยู่ที่ 4,407 ใบ.

ข่าวเเนะนำ ที่น่าสนใจ : WorkStories เปิดตัวออฟฟิศ

WorkStories เปิดตัวออฟฟิศแนวคิดใหม่ใจกลางเมือง

WorkStories เปิดตัวออฟฟิศแนวคิดใหม่ใจกลางเมือง

หลังประสบความสำเร็จจากธุรกิจในกลุ่ม Hospitality อย่าง “Te Mata Glamping” (เท มาต้า แกลมปิ้ง) ภายใต้คอนเส็ปต์ Private Luxury Glamping ใจกลางเขาใหญ่ สองพี่น้อง ปิยะธิดา-ฉัตรชัย อานันโทไทย เจเนอเรชั่นที่สามของธุรกิจใบยาสูบครบวงจรยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย (บริษัท เทพวงศ์ จำกัด) รวมถึงผู้ผลิตถั่วแระญี่ปุ่นส่งออกทั่วโลกและส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ (บริษัท Lanna Agro Industry จำกัด) และออฟฟิศให้เช่า Ploymitr Building (บริษัท พลอยมิตร จำกัด) เดินหน้าสานต่อโปรเจ็กต์ในฝันด้วยการสร้าง Serviced Office แนวคิดใหม่ใจกลางเมืองในชื่อ “WorkStories” (สุขุมวิทซอย 2) เน้นจุดขายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างสำหรับธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม (SME) จนถึงสตาร์ทอัพในแบบ “Lifestyle Integrated Office”

บนพื้นที่ขนาด 1,100 ตารางเมตรและอาคารสูง 7 ชั้น WorkStories มาพร้อมคอนเส็ปต์เรียบง่ายแต่เปี่ยมด้วยปรัชญาภายใต้สโลแกน “Write your own story” สื่อถึงความเป็นโมเดิร์นออฟฟิศที่เจ้าของธุรกิจสามารถเขียนเรื่องราวแห่งความสำเร็จในแบบที่เป็นคุณได้ตามต้องการ โดยมี WorkStories เป็นผู้สนับสนุนความฝันและสร้างสรรค์พื้นที่ทำงานที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างได้อย่างลงตัว ผสมผสานแนวคิด Work • Life • Balance เน้นความทันสมัยของพื้นที่ใช้สอยที่ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ควบคู่กับการสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ และบริการมาตรฐานเดียวกับโรงแรม5ดาว

ธุรกิจ วันนี้

​ปิยะธิดา อานันโทไทย Co-Founder ของ WorkStories พูดถึงแรงบันดาลใจในการริเริ่มโปรเจ็กต์ WorkStories ไว้ว่า เรามองเห็นไลฟ์สไตล์การทำงานขององค์กรยุคใหม่ที่ต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น บวกกับการทำค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจ Serviced Office ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในหลายประเทศทั่วโลก เราจึงเริ่มต้นพัฒนาโครงการนี้ตั้งแต่ปลายปี 2018 ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่ทำงานที่ผสมผสานความเป็น Work & Life เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า 24/7 พร้อมบริการแบบ Full Service มาตรฐานเดียวกับโรงแรม ที่เรานำประสบการณ์จากการบริหารเท มาต้า แกลมปิ้ง มาปรับใช้ใน WorkStories ด้วยบริการแม่บ้านและผู้ช่วย (Personal Assistant) ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า

แม้จะเป็น Serviced Office ที่เน้นความยืดหยุ่นและเชื่อมโยงผู้คนจากหลากหลายธุรกิจไว้ในที่เดียวกัน แต่ WorkStories ยังคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของทุกองค์กร เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสุดล้ำและฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เรียบหรูแบบ built-in ห้องประชุม 3 ห้อง (สามารถปรับขยายพื้นที่ได้ตามต้องการ) ห้องครัวส่วนตัว และห้องน้ำในทุกชั้น คีย์การ์ดเข้าพื้นที่แต่ละชั้นแบบเดียวกับคอนโดหรูและโรงแรม รวมถึง Meeting Room หรือ Event Space บริเวณชั้น 2 สามารถปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เช่าสำหรับจัดเวิร์คช็อป นิทรรศการ คลาสออกกำลังกาย หรืองานสัมมนาต่างๆ ได้อีกด้วย

ดูข่าวอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ : เปิดเหตุผลทำไม? ดีเซลไทยยังขายลิตรละ 35 บาท

เปิดเหตุผลทำไม? ดีเซลไทยยังขายลิตรละ 35 บาท

เปิดเหตุผลทำไม? ดีเซลไทยยังขายลิตรละ 35 บาท แม้ราคาตลาดโลกปรับลด

จากวิกฤติซ้อนวิกฤติ “โควิด-สงครามรัสเซีย ยูเครน” ส่งผลให้ราคาพลังงานมีความผันผวนอย่างหนักส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานโลกอย่างดีเซลพุ่งสูงขึ้นในระดับ 2 เท่าตัว และราคาก๊าซธรรมชาติ (LNG) ปรับสูงขึ้นในระดับ 5 เท่าตัวอย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบไปทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งประเทศไทยต้องเจอกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามากตั้งแต่กลางปี 2565 จนปัจจุบันทะลุ 38 บาทต่อดอลลาร์ ถึงแม้ว่าราคาพลังงานโลกเริ่มลดลง แต่เมื่อเงินบาทอ่อนค่าส่งผลทำให้ราคานำเข้าพลังงานกลับไม่สามารถลดลงมาตามที่ควรจะเป็นทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง 8 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่ารวม 43,960.4 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 87.7% แบ่งเป็นน้ำมันดิบ 27,996.3 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวในอัตรา 94.6% น้ำมันสำเร็จรูป 4,005.5 ขยายตัว 17.4% และ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม 8,665 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 199%นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ราคาน้ำมันตลาดโลกเมื่อปรับลดลง แต่ราคาน้ำมันในประเทศไทยไม่ได้ปรับลดลงมากตามไปด้วย มีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก 2 ปัจจัย คือ

1. ค่าเงินอ่อนค่า ถือว่ามีผลกระทบและเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะเมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่ามากส่งผลถึงต้นทุนราคาน้ำมันสูงขึ้นโดยประเทศไทยมีปริมาณนำเข้าที่สูงด้วย และหากเทียบกับช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท ราคาน้ำมันขึ้น 1 ดอลลาร์ จะเท่ากับ 20 สตางค์ และปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนพุ่งสูงขึ้นไปแตะ 38 บาท จึงมีผลกระทบทันที

2. เก็บเข้ากองทุนน้ำมัน เนื่องจากกองทุนน้ำมันยังติดลบกว่า 1.2 แสนล้านบาท อีกทั้ง วันที่ 20 พ.ย. 2565 จะจะครบกำหนดที่กรมสรรพสามิตน้ำมันจะครบมาตรการยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาท โดยหากกระทรวงการคลังไม่ต่ออายุมาตรการนี้แล้วกลับมาเก็บภาษีดีเซลลิตรละ 5 บาท กองทุนน้ำมันอาจเสนอเข้าไปชดเชยราคา ตามจำนวนเงินที่กองทุนเก็บจากดีเซลในขณะนี้นายพรชัย จิรกุลไพศาล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายแลยุทธศาสตร์ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(สกนช.) ในฐานะผู้ช่วยเลขาคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเก็บเงินจากดีเซลลิตรละ 1.15 บาท อาจนำอุดหนุนราคาดีเซลลิตรละ 1 บาท และอีก 15 สตางค์ จะเก็บเข้ากองทุน ส่งผลให้ราคาขายปลีกดีเซลขยับขึ้นแค่ลิตรละ 4 บาท ไม่ให้ปรับขึ้นถึงลิตรละ 5 บาท แต่หากกองทุนเก็บเงินได้มากกว่าลิตรละ 1.15 บาท ก็จะช่วยพยุงราคาดีเซลได้มากขึ้น

ข่าวธุรกิจ

นอกจากนี้ ในการประชุม กบน. สัปดาห์หน้าจะพิจารณาทบทวนราคาขายปลีกดีเซลในประเทศตามความเหมาะสมด้วยดุลยพินิจของ กบน. เอง หลังมาตรการอุดหนุนราคาดีเซล 50% ในส่วนที่สูงกว่า 35 บาท/ลิตร สิ้นสุดลงวันที่ 30 ก.ย.นี้ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)“ขณะนี้กองทุนเก็บเงินจากน้ำมันเข้ากองทุนลิตรละ 1.15 บาท ซึ่งหากราคาน้ำมันสำเร็จรูปดีเซลตลาดโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่อง จนสามารถเก็บเงินเข้ากองทุนได้ลิตรละ 3-4 บาท กองทุนน้ำมันอาจแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่เก็บเข้ากองทุนคืนกลับไปเป็นส่วนลดราคาขายปลีกดีเซลให้ประชาชนลงแบบขั้นบันได เช่น จากลิตรละ 34.94 บาท ลดลง 50 สตางค์หรือ 1 บาท เป็นต้น แต่เบื้องต้นจะขอพิจารณาจากอัตราเงินที่เก็บเข้ากองทุนเป็นหลักก่อน”สำหรับฐานะกองทุนน้ำมันวันที่ 25 ก.ย. 2565 ติดลบ 125,216 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 82,674 ล้านบาท บัญชีแอลพีจีติดลบ 42,542 ล้านบาท แต่มีเงินเรี่ยไรจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เข้ามาเสริมสภาพคล่องกองทุน 1,000 ล้านบาท ทำให้กองทุนติดลบ 124,216 ล้านบาทนอกจากนี้ กองทุนน้ำมัน ยังอยู่ระหว่างใช้กลไกการกู้เงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องและพยุงราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม LPG เพื่อให้มีคาราที่ไม่กระทบกับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง โดยคาดว่าเงินกู้ก้อนแรก 20,000 ล้านบาท จะสามารถเข้ามาเติมบัญชีได้ในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2565 นี้