‘ธุรกิจดิจิทัล’ ลุยคว้าโอกาสใหม่ สร้างการเติบโตสู้โลกอนาคต
‘ธุรกิจดิจิทัล’ ลุยคว้าโอกาสรับโลกยุคใหม่ สร้างบริการตอบทุกโจทย์ความต้องการ ‘บิทคับ’ พัฒนาอินฟราฯ สู่ “โทเคนไนซ์เซชั่น” ‘เอไอเอส’ ลุยขยาย 5จี มอง “ดิจิทัล ดิสรัปชัน” โอกาสสร้างเติบโต “ไลน์” ลุยพัฒนาบริการตอบโจทย์คนไทย 24 ชั่วโมง ยอดผู้ใช้พุ่ง53 ล้านราย“กรุงเทพธุรกิจ” จัดงานสัมมนา Thailand Economic Outlook 2023 หัวข้อ Digital Business : Next Opportunity เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา ดึงธุรกิจดิจิทัลชั้นนำของประเทศร่วมแชร์ไอเดีย ทิศทางทำธุรกิจดิจิทัลที่ได้ชื่อว่าเป็น “โอกาส” การเติบโตในอนาคต เป็นฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนประเทศไทยเสริมสร้างขีดแข่งขันประเทศนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ “บิทคับ” ผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย กล่าวว่า ในอนาคตเทรนด์การเทรดคาร์บอนเครดิต การเทรดยูนิตไฟฟ้า เทรดตราสารหนี้ จะอยู่ในรูปแบบของ “โทเคนไนซ์เซชั่น” แพลตฟอร์ม ทำให้บริษัทเร่งสร้าง “อีโคโนมิก อินฟราสตรักเจอร์” ที่พร้อมสำหรับเศรษฐกิจยุค เว็บ 3.0
ยุทธศาสตร์ปี 66 บิทคับมุ่งยั่งยืน
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์บิทคับ ปี 2566 คือ การทำให้ธุรกิจมีความ “ยั่งยืน” ด้วยการวางโครงสร้างองค์กรให้แข็งแรง เพื่อผ่านภาวะเศรษฐกิจโดยการมองการลงทุนแบบ “Short-Term Noise“ และมี ”Long-Term Vision”สำหรับการวางแผนในระยะสั้น ที่เงินเฟ้อทั่วโลกสูงมากในรอบ 40 ปี ทุกที่ทั่วโลก ทำให้ต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่ออยู่รอดในช่วงภาวะเฟ้อ และเงินเฟ้อจะต้องกลับไปอยู่ที่ 2% ในปี 2567ขณะเดียวกันเหล่า Venture Capital หรือ VC ยักษ์ใหญ่มองการลงทุน “บล็อกเชน” คือการลงทุนที่เติบโตมหาศาลในอนาคต ซึ่งมาพร้อมกับไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ฟินเทค และดิจิทัลแอสเสท ซึ่งการที่รู้ว่า VC เหล่านี้เข้าไปลงทุนในธุรกิจประเภทใด เป็นหนึ่งวิธีที่จะคาดเดาเทรนด์อนาคตได้ รวมทั้ง “Net Zero” มาเร็วกว่าที่คิด ทำให้ต้องคำนึงถึงเรื่อง “ความยั่งยืนบิทคับ โต 2000%ทั้งนี้ นายจิรายุส เชื่อว่า หลังสถานการณ์ “รีเซสชั่น” ทั่วโลกหายไป “ดิจิทัล แอสเสท” จะเติบโตขึ้นมาก บิทคับ จึงเตรียมฐานที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต จากปีล่าสุดที่บริษัทเติบโตเกือบ 2,000% และที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 1000% ซึ่งมีการสร้าง “โปรดักซ์ มาร์เก็ตฟิต” คือ การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาตอบโจทย์ตลาดมากที่สุด สู่การสเกลอัพโปรเจกต์ต่างๆ ให้แข็งแรง ทำให้บิทคับมุ่งสู่เนชั่นนัลมากขึ้น เพื่อเติบโตเป็นคอมพานีที่ครอบในภูมิภาคสิ่งสำคัญที่สุด คือ การหาบาลานซ์ระหว่างการเติบโตเทคโนโลยีที่ไม่มีวันหยุดยั้ง และหน่วยงานกำกับดูแลที่รักษาความปลอดภัยของลูกค้า ที่จะสามารถทำให้อินโนเวชั่นเติบโตได้ภายในประเทศไทย รวมทั้งการสร้างนักพัฒนาด้านเทคโนโลยี ดึงเอ็นจิเนียริ่ง บุคคลที่มีความรู้เรื่องดิจิทัล และบล็อกเชนที่กำลังขาดแคลนในขณะนี้ พร้อมกับการมีเงินทุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้าธุรกิจ“ในอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้าสู่ยุคทองของภูมิภาคเซาท์อีสเอเชีย จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วที่สุด จากความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งความมั่นคง มีความรุ่งเรื่อง มีการพัฒนาคนและมีดิจิทัลอีโคโนมี่ ทำให้เราต้องเตรียม อินฟราสตรักเจอร์ ที่ต้องเชื่อมโยงกับ กรีน อีโคโนมี ภายใต้หลักการ sustainability สิ่งสำคัญของซัพพลายเชนที่จะดึงดูดให้นักลงทุนหลังไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้”
เอไอเอส มอง“ดิจิทัลดิสรัปชั่น”คือโอกาส
นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีความพร้อม โครงข่ายทั้งมีสายและไร้สายมีศักยภาพ ครอบคลุม เทียบเคียงหรือเป็นผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ 5จี เป็นรองเพียงประเทศจีนเท่านั้น ซึ่งความพร้อมเหล่านี้เอื้อให้การใช้แอปพลิเคชัน อีคอมเมิร์ซ รวมถึงบริการบนดิจิทัลเติบโตได้รวดเร็วอย่างมากสำหรับเอไอเอส มองดิจิทัลดิสรัปชันเป็นโอกาสมากกว่าความท้าทาย เมื่อมองไปข้างหน้าสามปีคาดว่าอีคอมเมิร์ซจะเติบโตอีกไม่น้อยกว่า 60-70% ต่อไปไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กจำต้องปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างไรก็ตาม ความท้าทายพื้นฐานของธุรกิจโทรคมนาคมคือ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ปีละไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้านบาท เป็นธุรกิจที่ต้องใช้การเงินลงทุนเพื่อขับเคลื่อน อีกทางหนึ่งมีความท้าทายเรื่องการทำราคาค่าบริการ
ลุยอัปเกรด 5จี คว้าโอกาสดิจิทัล
ยุทธ์ศาสตร์ของเอไอเอส มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะ 5จี ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น จากขณะนี้ที่ครอบคลุมแล้วกว่า 80% ของประชากร จะทำให้ครอบคลุมทั้งหมด ส่วนแบบมีสายจะทำให้เติบโตแบบก้าวกระโดด เพื่อรองรับการบริการบนดิจิทัลต่างๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาธุรกิจไปข้างหน้าหลังจากนี้ มุ่งขยายโครงข่ายไปสู่การเป็น “อีโคซิสเต็ม พาร์ทเนอร์ชิป” เติบโตไปพร้อมๆ กับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างความยั่งยืนและมุ่งสู่ Net Zero ในอนาคต ซึ่งเริ่มมีการวางแผนและขับเคลื่อนงานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ที่ผ่านมายังได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อทำงานร่วมกัน ทั้งมีการส่งเสริมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการมุ่งสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนนอกจากนี้ บทบาทสำคัญในฐานะผู้ให้บริการเครือข่ายให้ความสำคัญอย่างมากด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ โดยจะมีการประสานงานกับหลายภาคส่วนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา และเอไอเอสจะมีการลงทุนในด้านนี้อีกจำนวนมาก